ข้อคิดเชิงธรรมะ ท่านเจ้าคุณ พระประชานาถมุนี
ประวัติพระครูปราโมทย์02

วัดดอนจั่น ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
๑. ที่สุดของมนุษย์ เสมอเหมือนกันหมดทุกประการ…ต้องการและปรารถนาความสำเร็จให้เกิดขึ้นกับชีวิตของตน

๒. ที่สุดของมนุษย์ เสมอเหมือนกันหมดทุกประการ…เกิด แก่ เจ็บ ตาย

๓. ที่สุดของมนุษย์ เสมอเหมือนกันหมดทุกประการ..ต้องการและปรารถนาให้ชีวิตมีความสงบ

๔. ที่สุดของมนุษย์ เสมอเหมือนกันหมดทุกประการ…ต้องการและปรารถนาให้คนในครอบครัวมีความสุข

๕. ที่สุดของมนุษย์ เสมอเหมือนกันหมดทุกประการ…ต้องการและปรารถนาให้ประเทศชาติของตนเกิดความมั่นคง และเกิดสันติสุข

๖. สิ่งที่มวลมนุษย์ควรเรียนรู้แสวงหาให้กับชีวิตคือ…ธรรมชาติ

๗. สิ่งที่มนุษย์ควรมอบให้กับชีวิตได้แก่…ความอดทน

๘. สิ่งที่มนุษย์ควรมอบให้กับชีวิตได้แก่…ความซื่อสัตย์แก่ตนเอง และผู้อื่น

๙. เข้าใจความเป็นปกติ…ซึ่งกันและกัน…ความเป็นปกติเกิดขึ้นกับเรา

๑๐. ไม่เข้าใจความเป็นปกติ…ความผิดปกติย่อมเกิดขึ้นกับเรา

๑๑. เข้าใจ…เท่าทัน…ยอมรับ…การเปลี่ยนแปลง..เป็นปกติ..ชนะ..สำเร็จ

๑๒. ไม่เข้าใจ…ไม่เท่าทัน…ไม่ยอมรับ…การเปลี่ยนแปลง…ผิดปกติ…ไม่ชนะ..ไม่สำเร็จ

๑๓. ภรรยา เข้าใจความเป็นปกติ…ของสามี…ภรรยา..ก็เป็นภรรยาที่ปกติ…มีความสุข

๑๔. สามี เข้าใจความเป็นปกติ…ของภรรยา…สามี…ก็เป็นสามีที่ปกติ…มีความสุข

๑๕. ลูกที่ดี…ของพ่อแม่…ประกอบด้วย…ศีล…สมาธิ…ปัญญา

๑๖. ผู้บริหารที่ดี…ประกอบด้วย…ศีล…สมาธิ…ปัญญา

๑๗. ผู้ใต้บังคับบัญชาที่ดี…ประกอบด้วย…ศีล…สมาธิ…ปัญญา

๑๘. นายจ้างที่ดี…ประกอบด้วย…ศีล…สมาธิ…ปัญญา

๑๙. ลูกจ้างที่ดี…ประกอบด้วย…ศีล…สมาธิ…ปัญญา

๒๐. นายกรัฐมนตรี…ผู้แทนราษฎร…ที่ดี ประกอบด้วย…ศีล…สมาธิ…ปัญญา

๒๑. ผู้ว่าราชการ…นายอำเภอ…ที่ดี ประกอบด้วย…ศีล…สมาธิ…ปัญญา

๒๒. กำนัน…ผู้ใหญ่บ้าน…ที่ดี ประกอบด้วย..ศีล…สมาธิ…ปัญญา

๒๓. ราษฎร ชาย หญิง หนุ่ม สาว ที่ดี ประกอบด้วย….ศีล…สมาธิ…ปัญญา

๒๔. อธิการบดี…คณบดีที่ดี ประกอบด้วย…ศีล…สมาธิ…ปัญญา

๒๕. ผู้อำนวยการ…อาจารย์ใหญ่…ครูใหญ่…ครูน้อย…ที่ดี ประกอบด้วย…ศีล…สมาธิ…ปัญญา

๒๖. บุคคลใดได้ดำเนินชีวิต ตามบทบัญญัติหลักศีลห้า ย่อมได้รับความเจริญงอกงามแก่ชีวิต

๒๗. มีข้าวกิน…มีบ้านอยู่…มีตำแหน่ง…มีสมบัติ…มีลูกหลานสืบสกุล มีศีล…มีสมาธิ…มีปัญญา…ยิ่งเพิ่มความสุขให้กับชีวิตครอบครัว ยิ่งๆ ขึ้นไป

๒๘. ใช่ว่า…มีข้าวกิน มีบ้านอยู่ มีตำแหน่ง มีทรัพย์สมบัติ มีลูกหลาน สืบสกุล… ใช่ว่า…มีความสุข ถ้าไม่มีศีล ไม่มีความสุข

๒๙. บุคคลผู้ใด ได้ดำเนินชีวิตตามพุทธบัญญัติ บุคคลผู้นั้นย่อมมีชีวิตที่ประเสริฐ ปลอดภัย มั่นคง

๓๐. บุคคลผู้ใดใช้หลัก ศีล…สมาธิ…ปัญญา..บริหารองค์กรๆ นั้น ย่อมเกิดความมั่นคง เจริญยิ่งๆ ขึ้นไป

๓๑. บุคคลผู้ใด ได้นำเอาศีล…สมาธิ…ปัญญา…มาบริหารชีวิต ชีวิตย่อมมีคุณภาพ มั่นคง ยั่งยืน

๓๒. ครอบครัวใดนำเอาศีล…สมาธิ…ปัญญา.. มาบริหารครอบครัว ครอบครัวนั้น ย่อมเกิดความมั่นคง

๓๓. ศีล…สมาธิ…ปัญญา…รักษา องค์ความรู้ เกิดความยั่งยืน อย่างมีคุณภาพยิ่งๆขึ้นไป

๓๔. ศีล…สมาธิ…ปัญญา…ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง แก้ไข พัฒนาให้มนุษย์เป็นมนุษย์ที่ปกติยิ่งๆ ขึ้นไป

๓๕. บุคคลใดยึดมั่นบทบัญญัติหลักศีลห้า มากำกับ ควบคุม การดำเนินชีวิต ธุรกิจ การงาน มั่นคง ปลอดภัย มีความสุข

๓๖. บุคคลผู้ใด ได้ประพฤติตน ตามบทบัญญัติหลักศีลห้า บุคคลผู้นั้นย่อมมีชีวิต มั่นคงปลอดภัย มีความสุข

๓๗. บุคคลผู้ใด ได้นำเอาศีล…สมาธิ…ปัญญา มาพัฒนาชีวิตย่อมได้รับแต่ความสุข ความเจริญรุ่งเรืองงอกงาม ยิ่ง ๆ ขึ้นไป

๓๘. บุคคลผู้ใด ได้นำเอาศีล…สมาธิ…ปัญญา..มากำกับ ควบคุม กำหนด การกระทำการต่างๆ การกระทำนั้นๆ ย่อมประสบความสำเร็จ อย่างมีคุณภาพ

๓๙. บุคคลผู้ใด ได้นำเอาศีล…สมาธิ…ปัญญา…มากำกับ ควบคุม กำหนด การนอน การนอนมีความสุข และสุขภาพดี

๔๐. นอนเพื่อสุขภาพ ประกอบด้วยศีล…สมาธิ…ปัญญา..นอนแล้วมีความสุข อายุยืน

๔๑. ขณะที่ปฏิบัติงาน ต้องนำเอาศีล…สมาธิ…ปัญญา..มากำกับ ควบคุม กำหนด การปฏิบัติงานนั้น ย่อมเกิดคุณภาพ

๔๒. ขณะที่ปฏิบัติงานการสื่อสาร นำเอาศีล…สมาธิ…ปัญญา มากำกับ…ควบคุม การสื่อสาร เกิดความสัมฤทธิ์ผล

๔๓. พนักงานบัญชี ก่อนปฏิบัติหน้าที่นั้นควรนำเอาศีล…สมาธิ…ปัญญามากำกับ การปฏิบัติงานนั้น เกิดความสัมฤทธิ์ผล อย่างมีคุณภาพ

๔๔. กินอย่างมีความสุข หรือกินอย่างมีคุณภาพ ประกอบด้วยศีล…สมาธิ…ปัญญา…ชีวิตนั้นมีความสุข

๔๕. ศีล…สมาธิ…ปัญญา…เป็นบิดามารดาของพระพุทธเจ้า

๔๖. พระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ เกิดจากศีล…สมาธิ…ปัญญา…

๔๗. พระธรรมแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ เกิดจากศีล…สมาธิ…ปัญญา…

๔๘. ศีล…สมาธิ…ปัญญา…เป็นแก่นสาระ ของพระพุทธศาสนา

๔๙. โลกวิทยาศาสตร์หวั่นไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ แต่…โลกพระพุทธศาสนาไม่หวั่นไหว เพราะ…เข้าใจ…

๕๐. โลกวิทยาศาสตร์ ไม่เข้าใจ ไม่เท่าทัน ไม่ยอมรับ การเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ…แต่…โลกแห่งปัญญา เข้าใจ เท่าทัน ยอมรับการเปลี่ยนแปลงของโลก

๕๑. การเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์กติกา สามารถเปลี่ยนแปลงได้ โดยง่าย…แต่… ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงความคิดผิดของมนุษย์ (การเปลี่ยนแปลงที่ดี…คือ…สร้างความเข้าใจกับตนเองและผู้อื่น)

๕๒. พายุที่ว่ารุนแรง….แต่ก็สู้แรงแห่งกรรมไม่ได้

๕๓. พระพุทธเจ้าทรงใช้หลักศีล…สมาธิ…ปัญญา..เป็นหลักฝึกฝนอบรมจิตใจ เพื่อปรับปรุง เปลี่ยนแปลง แก้ไข พัฒนาจิตของพระองค์ จนได้บรรลุเป็นพระพุทธเจ้า

๕๔. ศีล…สมาธิ…ปัญญา…มีอานุภาพ ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง แก้ไขพัฒนา ความคิดและการกระทำที่ผิดๆของมนุษย์ได้ตลอดเวลา

๕๕. ความดีงามใดๆ ที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ ความดีงามนั้นต้องประกอบด้วย…ศีล…สมาธิ…ปัญญา…

๕๖. ความดีงามใด ๆ เกิดขึ้นกับชีวิตมนุษย์ทุกครั้ง ต้องประกอบด้วย…ศีล…สมาธิ…ปัญญา

๕๗. การได้มาซึ่งปัจจัยสี่ในการดำเนินชีวิตของมนุษย์นั้น ต้องอาศัย…ศีล…สมาธิ…ปัญญา ปัจจัยสี่นั้น มั่นคง ปลอดภัยยิ่งๆ ขึ้นไป

๕๘. รากฐานของจิตคือศีล…สมาธิ…ปัญญา รากฐานของชีวิตคือ…การศึกษา

๕๙. ศีล เป็นความสุขเบื้องต้น สมาธิ เป็นความสุขขั้นกลาง ปัญญา เป็นความสุข ขั้นสูงสุด

๖๐. ความสุขของคนที่มีการศึกษา เป็นความสุขเกิดจาก รูปแบบกฎเกณฑ์ กติกา

๖๑. ความสุขเกิดจากรูปแบบ กฎเกณฑ์ กติกา เป็นความสุข ที่มีระยะเวลาอันสั้น เป็นความสุขบ่อนทำลายชีวิต ทรัพย์สิน

๖๒. ศีล…สมาธิ…ปัญญา…เป็นความสุขเบื้องต้นและเป็นความสุข ขั้นสูงสุด ของมนุษย์ที่เจริญด้วยปัญญา

๖๓. ผู้ที่เจริญด้วยการศึกษา แสวงหาความสุข ด้วยรูปแบบต่าง แต่…ผู้ที่เจริญด้วย ศีล…สมาธิ…ปัญญา…แสวงหาความสุข จากธรรมชาติหรือ…เหนือธรรมชาติ

๖๔. สุขได้เมื่อเข้าใจ…ทุกข์ได้เมื่อไม่เข้าใจ

๖๕. เมื่อเข้าใจกระทำการใดๆ ชนะ สำเร็จ เมื่อไม่เข้าใจกระทำการใด ๆ ไม่ชนะ ไม่สำเร็จ

๖๖. ความสุขของผู้ที่เจริญ ด้วยปัญญา ไม่มี กาลเวลา สุขได้ทุกเวลา ทุกขณะลมหายใจ

๖๗. ความสุขของผู้มีการศึกษา เป็นความสุขที่มีเวลา มีสถานที่ เป็นความสุขมีระยะเวลาสั้น

๖๘. ทุกข์มากเท่าไหร่ วันหนึ่งสุขเท่านั้น..สุขมากเท่าไหร่ วันหนึ่งทุกข์มากเท่านั้น

๖๙. มนุษย์จำนวนมาก เข้าถึงความเป็นปกติ ตอนผิดปกติ

๗๐. มนุษย์ที่เจริญด้วยปัญญาเท่านั้น สามารถเข้าถึงความเป็นปกติ

๗๑. มนุษย์ที่เจริญด้วยปัญญา ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข

๗๒. มนุษย์ที่มีการศึกษา มีทุกข์ มีสุข อยู่ตลอดเวลา

๗๓. สุขเกิดแล้วก็จาก ทุกข์เกิดแล้วก็จาก มันเป็นเช่นนี้อยู่แล้ว คู่กับโลก ทำไมมนุษย์ไม่เข้าใจ

๗๔. ชีวิตเจริญงอกงามได้ด้วย ศีล…สมาธิ…ปัญญา แต่ขณะเดียวกัน ชีวิตเสื่อมได้ด้วยการละเมิดศีล

๗๕. เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นโครงสร้างของการจัดการบริหารองค์กรของโลก

๗๖. เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นโครงสร้างของการจัดการบริหารของประเทศ

๗๗. เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นโครงสร้างของการจัดการบริหารการศึกษา

๗๘. เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นโครงสร้างของการจัดการบริหารงบประมาณ

๗๙. เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นโครงสร้างของการจัดการบริหารการศึกษา

๘๐. เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นแก่นสาระของชีวิต ชีวิตทุกชีวิตต้องเรียนรู้เฝ้าดูการเปลี่ยนแปลง

๘๑. เกิด แก่ เจ็บ ตาย มนุษย์ต้องยอมรับ เข้าใจการเปลี่ยนแปลงของมัน

๘๒. เกิด แก่ เจ็บ ตาย มนุษย์ควรต้องรับและศึกษาการเปลี่ยนแปลง ของมัน

๘๓. เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นปกติสำหรับผู้เจริญด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา

๘๔. เกิด แก่ เจ็บ ตาย อยู่ใต้ธรรมะของพระพุทธเจ้า

๘๕. ธรรมะของพระพุทธเจ้า อยู่เหนือ การเกิด แก่ เจ็บ ตาย

๘๖. ธรรมะของพระพุทธเจ้าอยู่เหนือธรรมชาติ ธรรมชาติเกิด การเปลี่ยนแปลงแต่…ธรรมะ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา

๘๗. ปฏิรูปการศึกษา เท่ากับการวางรากฐานของชาติให้เกิดความมั่นคง

๘๘. ปฏิรูปการศึกษา เท่ากับปฏิรูปการเมือง ปฏิรูปการเมืองเท่ากับ การไม่ได้ปฏิรูปการศึกษา

๘๙. โลกการบริหารแก้ปัญหาด้วยวิธีการต่าง ๆ แต่ไม่ได้สร้าง ความเข้าใจให้กับบุคลากร

๙๐. โลกการบริหารแก้ปัญหาด้วยวิธีการต่างๆ เช่นปฏิวัติหรือยุบสภา แต่ก็ไม่สามารถแก้ปัญหานั้นได้ ถึงแม้แก้ได้ก็ ไม่มั่นคงยั่งยืน

๙๑. วิธีการแก้ปัญหาคือ การสร้างความเข้าใจให้กับบุคลากร ให้มากที่สุด

๙๒. วิธีการแก้ปัญหาแบบยั่งยืน ให้คนในชาติรักษาศีล เจริญจิตภาวนา

๙๓. วิธีการดำเนินชีวิตของผู้มีปัญญา…คือ ศีล…สมาธิ…ปัญญา…

๙๔. วิธีการดำเนินชีวิตของผู้มีการศึกษาคือ ใช้หลักการต่าง ๆ ตามหลักการบริหารนั้น ๆ

๙๕. วิธีการดำเนินชีวิตของผู้มีปัญญา มีความมุ่งมานะพยายามให้อยู่เหนือเงื่อนไขและเข้าใจธรรมชาติ

๙๖. วิธีการดำเนินชีวิตของผู้มีการศึกษา มีความมุ่งมานะพยายามอยู่ในเงื่อนไขของสังคม

๙๗. ที่สุดการกินแค่อิ่ม…แต่เหตุใดมนุษย์…ปรุงแต่งการกิน หรือสร้างวิธีการกิน ด้วยรูปแบบต่าง ๆ

๙๘. ที่สุดการนอนแค่หลับ…แต่เหตุใดมนุษย์…ปรุงแต่งการนอนหรือสร้างวิธีการนอนด้วยรูปแบบต่าง ๆ

๙๙. ที่สุดการสวมใส่เสื้อผ้า แค่ปกปิดร่างกาย…แต่เหตุใดมนุษย์…ปรุงแต่งการสวมใส่เสื้อผ้าด้วยรูปแบบต่าง ๆ

๑๐๐. ที่สุดของมนุษย์ ตนแลเป็นที่พึ่งของตน

๑๐๑. ที่สุดของมนุษย์ เสมอเหมือนกันหมดทุกประการ ได้แก่…เกิด แก่ เจ็บ ตาย

๑๐๒. ที่สุดของมนุษย์ เสมอเหมือนกันหมดทุกประการ..พลัดพรากจากของที่ตนรักชอบ

๑๐๓. ที่สุดของมนุษย์ เสมอเหมือนกันหมดทุกประการ..ต้องการความดีปรารถนาแสวงหาความดี ทุกขณะของลมหายใจ

๑๐๔. ที่สุดของมนุษย์ เสมอเหมือนกันหมดทุกประการ..ไม่ต้องการความชั่วและหลีกเลี่ยงหนีความชั่วทุกขณะลมหายใจ

๑๐๕. ที่สุดของมนุษย์ เสมอเหมือนกันหมดทุกประการ ต้องการและปรารถนาความเจริญรุ่งเรืองให้เกิดขึ้นกับชีวิตของตนเอง

๑๐๖. ที่สุดของมนุษย์ เสมอเหมือนกันหมดทุกประการ ไม่ต้องการความเจ็บปวดและความทุกข์

๑๐๗. ที่สุดของมนุษย์ เสมอเหมือนกันทุกประการ ต้องการความมั่นคง ความปลอดภัยทุกขณะลมหายใจ

๑๐๘. ที่สุดของมนุษย์ เสมอเหมือนกันหมดทุกประการ ต้องการและปรารถนาความยุติธรรมทุกขณะลมหายใจ